วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


แบบเสนอโครงการวิจัยเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์

1.ชื่อหัวข้อ : การถ่ายภาพวิถีชีวิตริมน้ำคลองบางหลวง                                                                         
            1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การถ่ายภาพนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการออกแบบ เนื่องจากยุคสมัยนี้มีสื่อสารต่างๆมากมาย การถ่ายภาพแสดงอารมณ์ต่างๆ ของภาพนั้นๆได้ การถ่ายภาพวิถีชีวิตริมน้ำคลองบางหลวงซึ่งจะได้ภาพถ่ายที่สื่ออารมณ์ และความเป็นอยู่วิถีชีวิตของคนในคลองบางหลวง
ซึ่งในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ไม่ได้ทำความสนใจ หรือ ลืมวิถีชีวิตการเป็นอยู่ตามริมน้ำไป ด้วยกาลเวลาและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เราเฉยเมยไปจนลืมว่า ชุมชนริมน้ำนั้นเป็นชุมชนเก่าแก่ของเรามาตั้งแต่ยุคสมัยครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานครถูกขนานนามว่า เวนิสตะวันออกโดยสมัยนั้นใช้การสัญจรทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ และคลองบางกอกใหญ่ (หรือคลองบางหลวง) ก็เป็นเส้นทางสัญจรสำคัญในสมัยนั้นด้วย คลองบางหลอง อยู่ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซ. 3 มีเครื่องข้ามเวลาสู่อดีตได้แก่  สะพานปูนเก่าแก่สร้างขึ้นในปี 2579 คลองบางหลวงยังมีสิ่งที่ท่องเที่ยงอย่าง บ้านศิลปิน ที่รวมรูปภาพถ่าย งานศิลปะ และของเก่าที่เคยมีอยู่ในอดีตไว้มากมาย แล้ว การถ่ายภาพนั้นช่วยให้เราเก็บความทรงจำสมัยเก่าแก่จนถึงปัจจุบัน และยังได้ช่วยเป็นสื่อแนะนำ ใหคนรุ่นหลังได้รู้แต่ก่อนที่อนาคตของคนในยุคเรานั้นจะกลายเป็นอดีต ทุกคนควรช่วยกันดูแลปัจจุบันที่ยังคงเหลืออยู่ ให้คงกลิ่นอายเดิม ๆ ไว้เท่าที่จะทำได้
ความสำคัญของการถ่ายภาพนั้นขึ้นอยู่กับการถ่ายหรือภาพที่ผู้ถ่ายนั้นอยากจะสื่อสารอารมณ์ต่างๆผ่านรูปภาพ เช่น การถ่ายภาพวิถีชีวิตริมน้ำคลองบางหลวง นั้นช่วยให้เห็นถึงโครงเรื่อง ช่วยแปลความหมายหรือ ช่วยขยายความเข้าใจของภาพนั้นๆได้ดีมากยิ่งขึ้น  และ วิถีชีวิตริมน้ำคลองบางหลวง ทำให้เราเรียนรู้วิถีการเป็นอยู่ของคนริมน้ำออกมาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น            
            1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาข้อมูลหลักการถ่ายภาพ
1.2.2 เพื่อศึกษาข้อมูลวิถีชีวิตริมน้ำคลองบางหลวง
1.2.3 เพื่อออกแบบหนังสือถ่ายภาพ


1.3 ขอบเขตของการศึกษา
เนื้อหาที่ได้ศึกษาครั้งนี้ จะใช้แนวทางการศึกษาและออกแบบหนังสือถ่ายภาพ ในเรื่องของการการถ่ายภาพวิถีชีวิตริมน้ำคลองบางหลวง

            1.4 วิธีการดำเนินงาน
            1.เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่1 ประเด็นการศึกษาหลักการออกแบบหลักการถ่ายภาพ  โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้
1.1 การศึกษาเอกสาร สื่อออนไลน์ เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของหลักการออกแบบหนังสือถ่ายภาพ
1.2 การสรุป สังเคราะห์ วิเคราะห์ให้เห็นถึงความสำคัญของหลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
            2. เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ประเด็นการศึกษาข้อมูลวิถีชีวิตริมน้ำคลองบางหลวง
2.1 การศึกษาเอกสาร สื่อออนไลน์ เพื่อวิเคราะห์หลักการถ่ายภาพวิถีชีวิตริมน้ำคลองบางหลวง เพื่อออกแบบหนังสือถ่ายภาพ 
2.2 การสรุป สังเคราะห์ วิเคราะห์หลักการการถ่ายภาพวิถีชีวิตริมน้ำคลองบางหลวง เพื่อออกแบบหนังสือถ่ายภาพ
            3. เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 3ประเด็นการศึกษา เพื่อออกแบบ หนังสือถ่ายภาพ
3.1 จากข้อสรุปของวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และ 2 นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อทำการออกแบบหนังสือถ่ายภาพ    
3.2 สรุปผลการศึกษาและการถ่ายภาพวิถีชีวิตริมน้ำคลองบางหลวง

            1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าที่จะได้รับ
จากการศึกษาหลักกการถ่ายภาพวิถีชีวิตริมน้ำคลองบางหลวง  ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อทำการออกแบบหนังสือถ่ายภาพ

            1.6 รายชื่อเอกสารอ้างอิง
1.กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์เอ็มไอเอส. หนังสือเทคนิคการถ่ายภาพด้วย กล้องดิจิตอล.พิมพ์ครั้งที่1 ปี 2551. สำนักพิมพ์ เอ็มไอเอส สนพ.
2.ส. พลายน้อย .เล่าเรื่องบางกอก.พิมพ์ครั้งที่1 ปี 2502. บริษัท สำนักพิมพ์ พิมพ์คำ สนพ.
3.วราห์ โรจนวิภาต .ย้ำรอยอดีตคลองบางหลวง ๑,. มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
4.ศรัญญา  โรจน์พิทักษ์. BE A PRACTICAL CITY MAGAZINE ; ฉ. 11 [บล็อกสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้]. เข้าถึงได้จาก : http://www.gotoknow.org/posts/356939?  (วันที่ค้นข้อมูล : 12 ธันวาคม 2555).
5.อาจารย์สุพจน์  จันทรจิตร.สาขางานภาษาต่างประเทศ [บล็อกสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้]. เข้าถึงได้จาก : http://www.gotoknow.org/posts/356939?  (วันที่ค้นข้อมูล : 12 ธันวาคม 2555).
6. ความหมายของการถ่ายภาพ.  [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : http://www.kmitl.ac.th/
agritech/nutthakorn/04091202/photo/pro.html. (วันที่ค้นข้อมูล : 13 ธันวาคม 2555)
7. ประวัติ คลองบางหลวง.  [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : http://www.klongbangluang.com/
?page_id=29. (วันที่ค้นข้อมูล : 13 ธันวาคม 2555)
8. บ้านศิลปิน คือ . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.holidaythai.com/Thailand-Attractions-3044.htm. (วันที่ค้นข้อมูล : 13 ธันวาคม 2555)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น